วิตามินเค เป็นวิตามินที่ละลายในไขมันได้ดี ตามปกติมีโอกาสน้อยมากที่จะพบผู้ป่วยที่ขาดวิตามินเคโดยตรง ส่วนมากจะพบกับผู้ที่มีโรคประจำตัวมาก่อน เช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบดูดซึมสารอาหาร โรคแพ้กลูเตน การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักหรือการรับประทานยาเพื่อรักษาอาการอื่น ๆ จนเป็นเหตุให้การดูดซึมวิตามินเคเข้าร่างกายได้น้อยลง วิตามินเคนั้นเมื่อแบ่งตามการทำงานจะมีเพียงแค่รูปแบบเดียวเท่านั้นคือเมนาควิโนนหรือวิตามินเค 1 และอีก 2 รูปแบบนั้นเป็นวิตามิน K2 และ K3 ซึ่งเกิดจากการสังเคราะห์ภายในร่างกายโดยตับและยังถูกสร้างจากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกายได้อีกด้วย แต่ท้ายที่สุดแล้วทั้งวิตามิน เค2 เค3 ก็จะถูกนำมาใช้งานในลักษณะเดียวกับ เค1 อยู่ดี ในคนปกติร่างกายต้องการวิตามินเคที่ 100 ไมโครกรัมต่อวันซึ่งถือว่าน้อยมากสำหรับการรับประทานอาหารแบบปกติถือว่ามากเกินพอ วิตามินเคนั้นพบได้มากในอาหารประเภทเนื้อสัตว์และเมล็ดพืชที่มีน้ำมันเช่นถั่วเหลือง เมล็ดกาแฟ ถ้าหากขาดวิตามินเคนั้นจะมีอาการเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งอาการนี้อาจจะถูกพบไปทารกวัยแรกเกิดเนื่องจากการสังเคราะห์สารอาหารจากไขมันที่มีสะสมตามร่างกายและอวัยวะภายในยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ จึงสังเคราะห์วิตามินเคได้น้อยสำหรับทารกแล้วถ้าแพทย์พบมักจะแก้ไขด้วยการฉีดวิตามินเคเพียง 1 เข็มจำนวน 10 mg ให้ได้รับโดยตรง แต่ในผู้ที่มีลักษณะของการขาดวิตามินเคเรื้อรังจะต้องได้รับวิตามินเคเสริมเข้าไปจำนวน 1-2 mg ต่อสัปดาห์ วิตามินเคจัดเป็นสารเคมีที่จัดอยู่ในหมวดสารอันตราย ไม่ควรจะซื้อมารับประทานเองอย่างเด็ดขาดต้องรับประทานภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น